COVID-19 Model

Last Updated on 25 กุมภาพันธ์ 2021 by Administrator

การบริหารและจัดการศึกษารูปแบบ COVID-19 Model

โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ จังหวัดสตูล เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๖ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพ.ศ. ๒๕๖๒ จากสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19) ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สถานศึกษาถือเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อดังกล่าว ขณะเดียวกันการจัดการศึกษาก็มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการให้กับผู้เรียนได้รับอย่างมีคุณภาพ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการบริหารและจัดการศึกษาของโรงเรียนภายใต้สถานการณ์นี้ ให้เกิดความปลอดภัยควบคู่ไปกับคุณภาพ สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนโยบายต้นสังกัด โดยมีเป้าหมายที่ผู้เรียนและสถานศึกษาเป็นสำคัญ

“การบริหารและจัดการศึกษารูปแบบ COVID-19 Model” เป็นนวัตกรรมด้านการบริหารและจัดการสถานศึกษา ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญในการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้เกิดความปลอดภัยและมีคุณภาพ โดยใช้ทฤษฏีระบบ (Systems Theory) ในการดำเนินงานซึ่งขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม การบริหารและจัดการศึกษารูปแบบ COVID-19 Model นั้น ประกอบด้วย ๑) ขั้นกำหนดเป้าหมายของผลผลิต (Output) ซึ่งกำหนดเป้าหมายของความเป็นผู้นำ (1) ไว้ 9 Agenda ได้แก่ Beautiful school, Management, Professional teachers, Talented students, Good students, Happy students, Parents are satisfied, Shaking hands with the commu nity และ Build an education network ๒) ขั้นวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า (Input) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัย ๖M ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากร (Man) เงินหรือทรัพย์สิน (Money) วัสดุ (Material) อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ (Machine) การบริหารจัดการ(Management) และ ขวัญและกำลังใจของบุคคล (Morale) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (environments) วิเคราะห์การส่งข้อมูลป้อนกลับ (feedback) และข้อมูลทางหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนและออกแบบนวัตกรรมการบริหารและจัดการศึกษารูปแบบ COVID-19 Model ที่สามารถดำเนินกิจกรรมตามสภาพปัญหาและความต้องการ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความพร้อม และบริบทของโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วม ๓) ขั้นสร้างกระบวนการบริหารและจัดการศึกษารูปแบบ COVID-19 Model ให้ทำงานตามโมเดลด้าน C : Care, O : Opportunity creation, V : Valuableness, I : Innovation และ D : Digital systems ประกอบด้วย แผนภูมิของงาน วิธีการมาตรฐาน แบบบันทึกดิจิตัล คู่มือปฏิบัติ และการดำเนินการตามที่ได้วางแผนและออกแบบนวัตกรรมไว้ ๓) ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและและการใช้นวัตกรรม และ ๔) ขั้นปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เป็นการนำผลการประเมินมาพิจารณาและวิเคราะห์ว่า ควรมีการปรับปรุงหรือไม่ หากปรับปรุง จะต้องกลับไปปรับปรุงในการออกแบบนวัตกรรมอีกครั้ง

ผลของการดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง โดยมีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นนวัตกรรมของโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ทำให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากร สามารถจัดการศึกษาได้ด้วยความระมัดระวัง ห่วงใย ดูแลช่วยเหลือ (C) การให้โอกาส การสร้างโอกาส การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส (O) โดยการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (I) และเทคโนโยยีดิจิทัล (D) การสร้างค่านิยม คุณค่า และมูลค่า (V) ให้เกิดความปลอดภัยควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพให้กับผู้เรียน นำไปสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำ (๑) ในการฝ่าวิฤตฯ ที่จะนำพาสถานศึกษาและผู้เรียน สู่คุณภาพภายใต้นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๖ สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ ๙ วาระ ประกอบด้วย (๑) โรงเรียนสวย (ปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น สวยงาม), (๒) มีการบริหารจัดการดี, (๓) ครูเป็นมืออาชีพ, (๔) นักเรียนมีความสามารถ (๕) นักเรียนเป็นเป็นคนดี, (๖) นักเรียนมีความสุข, (๗) ผู้ปกครองพึงพอใจ, (๘) ชุมชนให้ความร่วมมือ และ (๙) สร้างเครือข่ายทางการศึกษา ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และขยายผลแนวและความสำเร็จของ COVID-19 Model นี้ไปสู่สถานศึกษาอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาทางการบริหารและจัดการสถานศึกษา ต่อไป

Posted in รอบรั้วโรงเรียน and tagged , , .